เมนู

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น แล้วพิจารณา, กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว
พิจารณา, กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[1492] 5. อนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่
อนุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

4. อนันตรปัจจัย


[1493] 1. อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปา-
ทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

ปัญจวิญญาณเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ ที่เป็นวิบาก ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย.
มโนธาตุที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นวิบาก ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.
[1494] 2. อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปา-
ทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ภวังคจิต เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิต. มโนวิญญาณธาตุที่เป็น
วิบาก เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
[1495] 3. อนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปา-
ทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย.
อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู.
อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน.
อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

[1496] 4. อนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปา-
ทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ปัญจวิญญาณ ด้วยอำนาจของอนันตร-
ปัจจัย.
ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.
[1497] 5. อนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปา-
ทินนอนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค
โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค
อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ
เนวสัญญานาสัญญายตนะของผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
[1498] 6. อนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่
อนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล ผลเป็นปัจจัยแก่ผล ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย.

[1499] 7. อนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่
อุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ผล เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

5. สมนันตรปัจจัย


1. อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปา-
ทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

เหมือนอนันตรปัจจัย.

6. สหชาตปัจจัย


[1500] 1. อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนุ-
ปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ 1 ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3
ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 1 ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ 3 และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ 2 และกฏัตตารูป.
ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุหทยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย.
มหาภูตรูป 1 เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 3, มหาภูตรูป 3 เป็นปัจจัยแก่
มหาภูตรูป 1, มหาภูตรูป 2 เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 2, มหาภูตรูปทั้งหลาย
เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.
สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป 1 ฯลฯ